ระบบเคมีคืออะไรทำอย่างไร
การเลือกใช้สารกำจัดปลวกชนิดต่าง ๆ มีข้อพิจารณา ดังนี้
(1) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดปลวก
(2) เลือกใช้สารป้องกันกำจัดปลวกในอัตราความเข้มข้นที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการ
ป้องกันกำจัดว่าต้องการหวังผลในการป้องกันในระยะสั้นหรือระยะยาว
(3) เลือกรูปแบบของสูตรผสมให้เหมาะสมกับลักษณะของการนำไปใช้งาน
(4) เลือกอุปกรณ์และวิธีการที่เหมาะสมกับชนิดของสารป้องกันกำจัดปลวก เช่น ในการเลือก
ใช้สารป้องกันกำจัดปลวกเพื่อการฉีดพ่น หรืออัดลงในดิน
การป้องกันโดยใช้สารเคมี
การใช้สารป้องกันกำจัดปลวก (termiticides) เป็นการกำจัดโดยการฉีดพ่นหรืออัดสารเคมีลงไปในพื้นดินใต้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อ ทำให้ดินมีสภาพเป็นพิษ ปลวกไม่สามารถเจาะทะลุผ่านได้ หรืออาจใช้สารเคมีกำจัดปลวกโรยหรือฉีดพ่นให้โดน ตัวปลวกโดยตรง วิธีการใช้สารเคมีนี้ในปจจุบันพ ั บว่าเป็นวิธีป้องกันกำจัดปลวกที่ได้ผลดีที่สุด สารเคมีกลุ่มต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในประเทศไทย อาทิเช่น
• กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) ได้แก่ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) เป็นต้น
• กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (synthetic pyrethroids) ได้แก่ ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) อัลฟ่า-ไซเปอร์เมทริน (alpha-cypermethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ไบเฟนทริน (bifenthrin) เฟนวาเลอเรต (fenvalerate) และเดลต้าเมทริน (deltamethrin) เป็นต้น
• กลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคลอโรนิโคตินิล (chloronicotinyls) ได้แก่ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) กลุ่มเฟนนีลไพราโซล (phenylpyrazoles) ได้แก่ ฟิโพรนิล (fipronil) และกลุ่มไพรอล (pyrroles) ได้แก่ คลอเฟนนาเพอร์ (chlorfenapyr) เป็นต้น
การใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้(wood preservatives)
จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษต่อปลวก ซึ่งอาจเป็นชนิดละลายในน้ำ ชนิด ละลายในน้ำมัน หรือชนิดพร้อมใช้ ลักษณะการใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้อาจเลือกใช้วิธีการทา จุ่ม แช่ หรืออัด ด้วยความดัน สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทน้ำมัน
เป็นสารที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบเรียกกันโดยทั่วไปว่า ครีโอโสท เป็นสารเหนียว ข้น สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีกลิ่นฉุน มีคุณสมบัติเป็นทั้งสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อรา สลายตัวยาก ถูก ชะล้างและระเหยได้ยาก นิยมใช้ในการอาบน้ำยาไม้ที่ใช้กลางแจ้ง ภายนอกอาคาร เนื่องจากมีกลิ่นและทำให้ เนื้อไม้เปลี่ยนสีเป็นสีดำไม่สวยงาม ทาสีทับไม่ได้
สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทเกลือเคมีละลายในสารทำละลายอินทรีย์
เป็นสารประกอบซึ่งเกิดจากการผสมสารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อรา และเติมสาร แทรก (additives) เข้าไป สารที่เคยนิยมใช้กันมากในอดีต คือ เพนตะคลอโรฟีนอล (pentachlorophenol) และลินเดน (lindane) แต่ปัจจุบันสารประกอบทั้งสองชนิดถูกจำกัดการใช้ลงมาก เนื่องจากเป็นสารในกลุ่มที่ เชื่อกันว่าก่อให้เกิดมะเร็งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิด ที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือ ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง
สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทนี้มักมีราคาแพง เนื่องจากตัวทำละลายอินทรีย์ มักมีราคาค่อนข้างแพง จึงได้คิดค้นสูตรขึ้นมาใหม่ให้สามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เพื่อให้ได้สารป้องกันรักษา เนื้อไม้ที่มีราคาต้นทุนต่ำกว่า
สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทเกลือเคมีละลายในน้ำ
สารจำพวกนี้ประกอบด้วยส่วนผสมของเกลือเคมีหลายอย่างผสมกันโดยมีน้ำเป็นตัว ทำละลาย สารประเภทนี้แม้จะละลายในน้ำแต่เมื่ออัดเข้าไปในเซลล์ของไม้แล้วจะเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมี ตัวอื่นซึ่งจะเกาะติดอยู่ภายในไม้ได้ดี ไม่ถูกชะล้างหรือระเหยออกไปจากไม้ง่าย สารที่นิยมใช้กันทั่วไปใน ประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Copper-Chrome-Arsenate (CCA) ซึ่งมีส่วนประกอบของ ทองแดง โครเมี่ยม และสารหนู และ Copper-Chrome-Boron (CCB) ซึ่งมีส่วนประกอบของ ทองแดง โครเมี่ยม และโบรอน ซึ่ง ทองแดงจะออกฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดเชื้อรา สารหนูและโบรอนมีฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดแมลง ส่วนโครเมี่ยมจะช่วยให้สารอื่น คือ ทองแดง สารหนู โบรอน ติดอยู่ในเนื้อไม้ได้นาน เกลือเคมีอีกชนิดหนึ่งที่ เป็นที่นิยมใช้มากในประเทศไทยเช่นกัน คือ สารประกอบของโบรอน เช่น ทิมบอร์ (Timbor) และ บอราแคร์ (Boracare) เป็นต้น
จุดสำคัญของโครงสร้างอาคารที่ควรคำนึงถึงในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก
(1) บริเวณขอบบัวของพื้นอาคาร และพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพาะตามมุมห้องต่าง ๆ
บริเวณพื้น ใต้บันได ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายของเปนเวลานาน ๆ
(2) บริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง และท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักจะก่อผนังปิดหุ้มท่อไว้
(3) บริเวณรอยแตกของเสาไม้ผนัง หรือพื้นคอนกรีต
(4) บริเวณคร่าวเพดานและฝาสองชั้น ที่มักจะบุด้วยไม้อัด หรือใช้ไม้เนื้ออ่อน
(5) พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต