การควบคุมกำจัดโดยใช้ระบบเหยื่อปลวก

                             • ใช้เหยื่อปลวกที่ออกฤทธิ์ช้า ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ในการขัดขวางกระบวนการเจริญ เติบโตตามธรรมชาติของปลวก ทำให้สามารถลดจำนวนประชากรของปลวกจนถึงระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสีย หาย หรือเกิดการตาย
                       • ใช้เหยื่อปลวกที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ดึงดูดให้ปลวกเข้ามากิน และสามารถคงสภาพอยู่ ภายในตัวปลวกได้ดีในระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะเกิดการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกอื่น ๆ ภายในรังได้
 
                 เหยื่อปลวกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ขัดขวางการเจริญเติบโตของ ปลวก ส่งผลให้เกิดการตายอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง (insect growth regulators; IGRs) เช่น เฮ็กซาฟลูมูรอน (hexaflumuron) ไดฟลูเบนซูรอน (diflubenzuron) บิสตริฟลูรอน (bistrifluron) เป็นต้น ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างผนังลำตัวแมลง (chitin synthesis inhibitors) หรือเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในระบบทางเดินอาหารของปลวกและสามารถถ่ายทอดไปยังปลวกตัวอื่น ๆ ได้ เช่น ไดโซเดียม ออกตะบอเรต เตตระ ไฮเดรต (disodium octaborate tetrahydrate; DOT) ในปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์เหยื่อกำจัดปลวกทั้งชนิดที่ติดตั้งภายในอาคารและชนิดฝังดินบริเวณภายนอกอาคาร ในการนำเหยื่อ กำจัดปลวกนี้ไปใช้จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมความรู้ทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี และมีความชำนาญในการที่จะแก้ไขปัญหาในระหว่างการวางและเปลี่ยนเหยื่อได้ เนื่องจากในประเทศไทยมี การปลูกสร้างอาคารในลักษณะที่สลับซับซ้อน จึงจำเปนต้องดัดแปลงระบบการวางเหยื่อให้เข้ากับ แต่ละสถานการณ์ เพื่อล่อให้ปลวกเข้ากินเหยื่อให้เร็วที่สุด 
 

ข้อสำคัญที่ขาดมิได้ในการใช้ระบบเหยื่อปลวก คือ

คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติการ

                     1. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี

                     2. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในการสำรวจหรือวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของแหล่งที่เกิดปัญหา และประเมินความเสียหายได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และสามารถนำข้อมูลไปวางแผนและแนวทางในการจัดการ ปลวกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

                     3. ต้องเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณที่ดีในการพิจารณาเลือกใช้แนวทางในการจัดการว่าควรจัดการอย่างไร โดยใช้ กรรมวิธีใดบ้าง จุดที่ควรดำเนินการและระยะเวลาการดำเนินการควรเป็นเช่นไรจึงมีความเหมาะสมในแต่ละ สถานการณ์ที่สุด ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงปจจัยอื่น ๆ หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดการ เช่น ทัศนคติ ของบุคคลที่รับบริการ งบประมาณในการดำเนินงาน ประสิทธิผลในการควบคุม รวมถึงความปลอดภัย ระยะ เวลา หรือความยุ่งยากในการดำเนินการ เป็นต้น

                     4. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดของขั้นตอนในการปฏิบัติงานของแต่ละกรรมวิธีที่จะนำ มาใช้ในการจัดการเป็นอย่างดี

                     5. ต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง ซึ่งจะต้องมีการควบคุม ดูแล และติดตามประเมินผลของการปฏิบัติ งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

                     6. ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ และความสามารถเพียงพอ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจ เกิดขึ้นได้จากผลของการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎี