ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของมด

           มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปตั้งแต่เขตร้อน (tropics) จนถึงบริเวณใกล้เขตขั้วโลก (subarctic) สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปในพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่อยู่อาศัย จนมีคำกล่าวว่า มดครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นดิน มีการประมาณการว่าทั่วโลกพบมดที่จำแนกชนิดแล้ว มากกว่า 13,000 ชนิด ส่วนในประเทศไทย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานว่า มีการพบมด แล้วทั้งหมด 12 วงศ์ย่อย มากกว่า 700 ชนิด มดจัดเป็นแมลงสังคมชนิดหนึ่งที่มีพฤติกรรมความเป็นอยู่ แตกต่างจากแมลงอื่น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแมลงสังคมมีอยู่ 2 อันดับ คือ อันดับ Hymenoptera ได้แก่ กลุ่มของ ผึ้ง ต่อ แตน และมด และอันดับ Isoptera ได้แก่ ปลวก

           มดเป็นแมลงสังคมที่อยู่ในวงศ์ Formicidae จัดเป็นแมลงสังคมแท้จริงชั้นสูงที่รังมีประชากรเป็น จำนวนมาก มีการสร้างรังอย่างประณีต และสมาชิกภายในรังมีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ทั้งรูปร่าง ลักษณะ และหน้าที่ โดยมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสมาชิกภายในรัง มดมีบทบาทต่อคนในหลาย ลักษณะ ทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษ โดยในแง่ที่เป็นโทษนั้น มดเป็นแมลงศัตรูทำลายพืชผลทางการเกษตร ในแปลงปลูกและในโรงเก็บ ทำความเสียหายทางด้านปศุสัตว์โดยเข้ากัดกินตัวอ่อน ส่วนในบ้านเรือนของคนนั้น มดจะเข้ามาก่อความรำคาญและทำความเสียหาย โดยเข้ามามีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัยของคน นอกจากนั้น มดยังสามารถทำอันตรายกับคนโดยตรง โดยมดบางชนิดสามารถกัด หรือต่อยด้วยเหล็กใน หรือ ทั้งกัดและต่อยทำให้เกิดความเจ็บปวด เกิดอาการแพ้ หรือเกิดเป็นแผลติดเชื้อซ้ำบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยนั้น จากสาเหตุดังกล่าวมดบางชนิดจึงจัดเป็นทั้งแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพและทางเกษตรกรรม

    ลักษณะที่สำคัญโดยทั่วไปของมด (วรรณะมดงาน)

           ร่างกายมดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง แต่ละส่วนจะมีอวัยวะหรือ ลักษณะที่สำคัญต่าง ๆ ปรากฏอยู่ ลักษณะเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในมดแต่ละกลุ่มซึ่งใช้ในการจำแนกชนิดมด มดมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากแมลงชนิดอื่น (รูปที่ 4.1.1) คือ หนวดมีลักษณะหักงอแบบข้อศอก (แบบ geniculate) แบ่งออกได้เป็นส่วน scape และ funicle ซึ่งในเพศเมียจำนวนปล้องหนวดจะมี 4–12 ปล้อง ส่วนเพศผู้มี 9–13 ปล้อง นอกจากนั้น มดจะมีก้านท้อง เรียกว่า abdominal pedicel หรือ abdominal petiole หรือเอว (waist) ซึ่งอาจจะมีปุ่มนูนขึ้นมา 1-2 ปุ่ม หรือไม่มีก็ได้ ส่วนท้องปล้องที่เหลือ จากก้านท้องรวมเรียกว่า gaster มดมีปากแบบกัดกิน มีฟัน หรือกราม เรียกว่า mandible ซึ่งมดบางชนิดจะมี ฟันที่ใหญ่มองเห็นได้เด่นชัด มดบางชนิดจะมีเหล็กในยื่นออกมาให้เห็นจากปลายของส่วนท้องซึ่งจะเชื่อมต่อกับ ต่อมพิษที่อยู่ภายในท้อง มดจะมีตารวมขนาดใหญ่ 1 คู่ (compound eyes) บางชนิดมีตาเดี่ยว (ocelli) ซึ่งโดยทั่วไปจะมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม โดยตาเดี่ยวไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับภาพแต่อย่างใด 

     ความสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขของมด

           มดมากมายหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ในแง่ที่เป็นโทษ มดจะเข้ามามีส่วนแบ่ง ในอาหารและที่อยู่อาศัย ทำให้ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากทุกปีในการป้องกันกำจัด นอกจากนั้น ยังทำ อันตรายกับมนุษย์ได้โดยตรงโดยการกัด หรือต่อย พร้อมทั้งปล่อยสารพิษลงไปในรอยแผลที่กัดหรือต่อยนั้น ทำให้รู้สึกเจ็บปวด มดเกือบทุกชนิดใช้ปากกัด แต่บางชนิดก็ต่อยด้วยเหล็กในที่อยู่ปลายท้อง และมีบางชนิด ที่ทำอันตรายมนุษย์ได้ทั้งกัดและต่อยทำให้บริเวณนั้นมีอาการคัน ปวดบวม หรือปวดแสบปวดร้อน ซึ่ง อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาการแพ้ของแต่ละคน อายุ และตำแหน่งของร่างกายที่ถูกกัดต่อย ตัวอย่างเช่น มดคันไฟ (Solenopsis spp.) ที่เริ่มทำอันตรายเหยื่อด้วยการกัด และพบว่าการกัดจะกระตุ้น ให้เหล็กในเริ่มทำงานและต่อยศัตรูพร้อมกับปล่อยสารพิษจากเหล็กในใส่เหยื่อหลังจากการกัดนั้น มด สามารถต่อยด้วยเหล็กในอันเดิมได้หลายครั้ง ซึ่งจะต่างจากผึ้งที่ต่อยได้เพียงครั้งเดียวและจะทิ้งเหล็กในไว้ ในบริเวณที่ถูกต่อย จากการศึกษาสารพิษของมดคันไฟพบว่า ประกอบด้วยสารสำคัญหลัก 2 ชนิด คือ ส่วนหัว มีตารวมอยู่ 1 คู่ ส่วนอก (thorax) มี 3 ปล้อง ก้านท้อง (pedicel) มีปุ่มนูนขึ้นมา 1-2 ปุ่ม มีลักษณะต่าง ๆ กัน gaster (ส่วนท้อง ปล้องที่เหลือจาก pedicel) เหล็กใน (sting) ส่วนขา มี 3 คู่ ฟัน (mandible) ใช้กัดเหยื่อ หนวดแบบ geniculate ลักษณะหักงอแบบข้อศอก คู่มือ ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างสารอัลคาลอยด์ และสารโปรตีนชนิดต่าง ๆ โดยสารพิษจะผลิตออกมาจากต่อมที่อยู่ภายในท้องซึ่งเชื่อมต่อ กับเหล็กในที่เราเห็นยื่นจากปลายท้องของมด สารอัลคาลอยด์จะเป็นพิษกับเซลล์ ทำให้เซลล์นั้นเกิดการตาย จากนั้นจะมีเม็ดเลือดขาวมาล้อมรอบเซลล์ที่ตายตามกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้บริเวณที่ถูกต่อยเกิด เป็นตุ่มหนอง  และถ้าตุ่มหนองนั้นแตกออกและไม่มีการรักษาความสะอาดอาจทำให้เกิดการ ติดเชื้อซ้ำจากแบคทีเรีย (secondary infection) ทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังได้ สำหรับสารโปรตีนนั้น อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ทั้งแบบไม่รุนแรงจนถึงแบบรุนแรงที่มีอาการช็อค (anaphylactic shock) โดยเฉพาะ ในรายที่แพ้มาก ๆ นอกจากนั้น มดยังสามารถเป็นตัวพาเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเชื้อโรคจะติดมาตามร่างกายของมด ซึ่งเมื่อมดพวกนี้เข้ามาในบ้านและขึ้นมากินอาหารของคน เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะปนเปื้อนอยู่ในอาหาร (mechanical transmission) ได้

     ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของมด วงจรชีวิต

           มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างสมบูรณ์ (complete metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วย ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

          เนื่องจากมดเป็นแมลงสังคม สมาชิกที่อยู่ในรังจะมีการแบ่งชั้นวรรณะและแบ่งหน้าที่แยกออก จากกันอย่างชัดเจน ประกอบด้วย 3 วรรณะ คือ

     1. วรรณะมดแม่รัง

           หรือมดราชินี มีขนาดใหญ่กว่ามดตัวอื่นที่อยู่ในรัง อกหนา ท้องใหญ่ และมักมีตาเดี่ยว สามารถสืบพันธุ์ได้ ทำหน้าที่ในการเริ่มต้นสร้างรังและวางไข่เพื่อผลิตสมาชิกวรรณะอื่น ๆ ภายในรัง ตลอดจนควบคุมกิจกรรม ต่าง ๆ ภายในรัง

     2. วรรณะสืบพันธุ์

          ประกอบด้วยมดเพศผู้และมดเพศเมียที่สามารถผสมพันธุ์ได้ โดยทั่วไปจะมีปีก และมีขนาด ใหญ่กว่ามดงานแต่เล็กกว่ามดแม่รัง มดวรรณะนี้จะผลิตออกมาเมื่อรังมีขนาดใหญ่และสมาชิกภายในรัง มีมาก โดยจะมีหน้าที่ผสมพันธุ์เพื่อขยายรังใหม่ พบเป็นจำนวนน้อยกว่ามดงานในแต่ละรัง

     3. วรรณะมดงาน

         เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก เป็นมดที่ออกหาอาหารและพบอยู่เสมอภายนอกรัง นอกจากหาอาหารแล้ว มดงานยังมีหน้าที่ในการสร้างรัง รักษารัง ดูแลตัวอ่อนและราชินี และป้องกัน รัง มดงานบางชนิดสามารถแบ่งรูปร่างออกได้เป็นมดงานที่มีรูปร่างแบบเดียว (monomorphic form) มดงานที่มีรูปร่าง 2 รูปแบบ (dimorphic form แบ่งออกเป็น major worker และ minor worker) และมดงานที่มีรูปร่างได้หลายแบบ (polymorphic form)

 

     พฤติกรรมของมด

          มดเป็นแมลงที่กำเนิดมาช้านาน โดยเมื่อศึกษาจากซากฟอสซิลนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มดกำเนิด เมื่อ 50 ล้านปี มาแล้ว มดเป็นแมลงที่มีวิวัฒนาการสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสามารถ อยู่รอดได้ดี เนื่องจากมดมีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต พฤติกรรมเหล่านี้ประกอบด้วย

        

ิธีการควบคุมมด

     การควบคุมกำจัดมดถ้าต้องการให้ได้ผลดีและยั่งยืนเช่นเดียวกับการกำจัดแมลงทั่วไป อันดับ แรก ต้องทราบชนิดของมดที่เราต้องการควบคุม รวมทั้งต้องทราบลักษณะ อุปนิสัย อาหารที่ชอบและ แหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อสามารถหาวิธีที่เหมาะสมในการกำจัดมดแต่ละชนิด และควรใช้หลายวิธีร่วมกัน วิธีการควบคุมโดยทั่วไป ได้แก่

     1. การควบคุมโดยใช้สารเคมี (chemical control)

           1.1 เลือกสารเคมีชนิดที่หาได้ง่ายในบ้านเรือน เช่น น้ำมันหล่อลื่น น้ำส้มสายชู หยอดลง ไปตามช่องที่มดเดินเข้า–ออก จะสามารถฆ่ามดพวกนี้ได้

           1.2 สารเครีอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ส่วนใหญ่จะเน้นสารในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (synthetic pyrethroids) หรือวัตถุอันตรายที่มีฤทธิ์ตกค้างนานในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) และคาร์บาเมต (carbamates) ***เป็นสารเคมีเฉพาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญในการใช้เท่านั้น***

           1.3 เหยื่อพิษ การใช้เหยื่อพิษเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งในการควบคุมกำจัดมด เหยื่อพิษที่ดีต้องไม่มี ส่วนผสมของสารไล่ (repellents) แต่จะประกอบด้วยอาหารที่สามารถดึงดูดให้มดมากินเหยื่อ สารเคมีที่ สามารถฆ่ามดได้ รวมทั้งสารที่ทำให้เหยื่อสามารถผสมกันและคงสภาพอยู่ได้ อาหารที่ผสมอยู่ในเหยื่อพิษ จะแตกต่างกัน เช่น อาจเป็นพวกโปรตีนหรือน้ำตาล ดังนั้น ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของมดซึ่งจะ ชอบอาหารแตกต่างกัน ปกติสารเคมีที่ผสมอยู่ในเหยื่อพิษเพื่อฆ่ามดจะมี 2 ประเภท คือ ประเภทออก ฤทธิ์เร็วฆ่ามดได้ทันทีซึ่งประเภทนี้จะให้ผลเร็ว กับสารเคมีประเภทออกฤทธิ์ช้า ซึ่งประเภทนี้จะเห็นผล ช้ากว่าแต่ให้ผลดีในระยะยาวโดยใช้หลักการที่ทำให้มดนำเหยื่อพิษกลับไปป้อนให้สมาชิกอื่น ๆ ภายในรัง (trophallaxis) เพื่อเป็นการฆ่ามดวรรณะอื่น ๆ รวมทั้งตัวอ่อนที่อยู่ในรังด้วย

อย่างไรก็ตามการใช้เหยื่อพิษจะได้ผลดีเพียงไร จะขึ้นอยู่กับ

• ชนิดของมด นิสัยในการดำรงชีวิต และบริเวณที่สร้างรัง • ตัวของเหยื่อเอง • ช่วงเวลาที่วางเหยื่อ • การเลือกบริเวณที่วาง • อาหารที่ให้เลือก

เทคนิคการวางเหยื่อพิษ

• เลือกเหยื่อให้เหมาะสมกับชนิดของมด • วางเหยื่อบริเวณที่มดเข้ามา ทางเดิน และควรวางหลาย ๆ จุด • วางเหยื่อบริเวณที่มดสามารถหาพบได้ง่าย • วางเหยื่อบริเวณใกล้รัง ใกล้แหล่งน้ำ • วางเหยื่อในปริมาณที่เพียงพอ • มีการเติมเหยื่อที่พร่องไป และประเมินว่ามดมีการกินเหยื่อไปเท่าไร • ประเมินเป็นระยะ ๆ ว่าเหยื่อที่เลือกนำมาใช้ได้ผลหรือไม่ หรือต้องเปลี่ยนเป็นเหยื่อ ชนิดใหม่ • ไม่มีกิจกรรมต่าง ๆ ในขณะวางเหยื่อ เช่น ซ่อมบ้าน ทาสี ถูบ้าน เป็นต้น

     2. การควบคุมโดยการปรับสภาพแวดล้อม (sanitation and environmental management)

           ไม่ควรให้มีแหล่งอาหารของมด โดยเฉพาะแหล่งอาหารตามธรรมชาติอยู่ในบ้านเรือนหรือ บริเวณรอบบ้าน หมั่นสอดส่องดูแลภายในบ้านไม่ให้มีที่ที่เหมาะสมสำหรับมดมาทำรัง และไม่ควรปลูก ต้นไม้ที่มีน้ำหวาน (honeydew) ไว้ใกล้บ้าน เนื่องจากมดบางชนิดอาศัยกินน้ำหวานบนต้นไม้ หรือ มีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับเพลี้ยอ่อนที่อาศัยดูดกินน้ำหวานบนต้นไม้ โดยมดจะเลี้ยงดูป้องกันภัยให้กับ เพลี้ยอ่อน ขณะเดียวกันมดจะได้รับอาหารจากตัวเพลี้ยอ่อนที่ปล่อยออกมา ดังนั้น ถ้าปลูกต้นไม้ที่มี น้ำหวานไว้ใกล้บ้านจะเป็นช่องทางเดินให้มดเข้ามาอาศัยหากินหรือทำรังอยู่ในบ้านได้

     3. การควบคุมโดยวิธีกล (mechanical control)

          โดยการใช้มือบี้หรือทำลาย ใช้ไม้กวาดกวาดทิ้ง หรือการทำลายรังโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ใช้ไฟเผา ตัดรังทิ้งในกรณีที่รังอยู่บนต้นไม้ เป็นต้น

การจัดการมด

          การจัดการกับมดที่ก่อให้เกิดปัญหาในที่พักอาศัยทั้งในบ้านเรือนและบริเวณรอบบ้าน รวมทั้ง ในอาคารสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ร้านค้า ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือโกดังเก็บสินค้า ประเภทอาหาร จะมีรายละเอียดของกลวิธีที่จะใช้แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของมดและความ ปลอดภัยของสถานที่ รวมทั้งเพื่อให้เกิดความพอใจของเจ้าของสถานที่ การควบคุมควรให้เห็นผลทั้งใน ระยะสั้นและระยะยาวซึ่งจะมีรูปแบบการควบคุมที่ต่างกัน โดยต้องนำวิธีการควบคุมต่าง ๆ มาใช้ร่วมกัน

 

    การกำจัดมดนั้นไม่ว่ากระบวนการใดๆต่างๆ ที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น การกำจัดดูแลและควบคุม หากแต่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และความรู้ความเข้าใจและประสบการเป็นเป็นสำคัญ

 

 

ดังนั้น โปร-ทีม จึงมีบริการกำจัดมดให้คุณโดยเฉพาะ

สนใจติดต่อสอบถามด้านข้อมูลบริการโทร 02-101-1450