ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวก

 

              ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ ปลวกจัดเป็น ส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศน์ โทษของปลวกนั้นเกิดขึ้น เพราะว่าปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสซึ่งเปน็ส่วนประกอบที่สำคัญในไม้และเส้นใยต่าง ๆ เป็นอาหารหลัก ในการดำรงชีวิต ดังนั้น เราจึงพบปลวกเข้าทำความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ไม้หรือโครงสร้างไม้ภายใน อาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าวของ เครื่องเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำมาจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มี เซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ

                ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าสองร้อยชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความ เสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ก่อให้เกิด ความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนคิดเป็นมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาท การเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้เริ่มขึ้น จากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดินทำท่อทางเดินดินทะลุขึ้นมาตามรอยแตกของพื้นคอนกรีต หรือรอยต่อเชื่อม ระหว่างผนัง เสา หรือคานคอดิน เพื่อเข้าไปทำลายโครงสร้างไม้ต่าง ๆ ภายในอาคาร เช่น เสา คานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าวเพดาน คร่าวฝา ไม้วงกบ ประตู และหน้าต่าง เป็นต้น

                ในการดำรงชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้ว ความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของ ปลวกอีกประการหนึ่ง ข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกจะช่วยให้สามารถวางแผนแนวทางในการ ป้องกันกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีดำเนินการหลายวิธี เช่น การทำให้พื้นดินภายใต้อาคาร เป็นพิษ การทำแนวป้องกันใต้อาคารที่ปลวกใต้ดินไม่สามารถเจาะผ่านได้ หรือการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษทำให้ ปลวกใช้เป็นอาหารไม่ได้ การดำเนินการมีทั้งการใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลาย ๆ ขั้นตอนในการป้องกัน กำจัดปลวกนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองเพื่อช่วยลดความเสียหาย และช่วยยืดอายุการ ใช้ประโยชน์ไม้ให้คงทนถาวรยิ่งขึ้น

       ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกชีวิตความเป็นอยู่ของปลวก

                ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรัง โดยทั่วไปมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืด และอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปตามวรรณะ ต่าง ๆ รวม 3 วรรณะ คือ 

                        1. วรรณะสืบพันธุ์ หรือแมลงเม่า ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีก มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และขยายพันธุ์ โดยจะบิน ออกจากรังเมื่อมีสภาพอากาศเหมาะสม จับคู่กันแล้วสลัดปีก ผสมพันธุ์ จากนั้นจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อ วางไข่

                        2. วรรณะกรรมกร หรือปลวกงาน เป็นปลวกตัวเล็กที่พบเห็นกันมาก โดยทั่วไปมีสีขาวนวล ไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ใช้หนวดเป็น อวัยวะรับความรู้สึก คลำทาง ทำหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารมาป้อนราชินี ราชา ตัวอ่อนและ ทหาร ซึ่งจะไม่หาอาหารกินเอง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่ เพาะเลี้ยงเชื้อรา และซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย

                        3. วรรณะทหาร เป็นปลวกที่มีหัวขนาดใหญ่ สีเข้ม มีโครงสร้างผนังลำตัวที่แข็งแรงกว่าในวรรณะอื่น มีกรามขนาด ใหญ่ซึ่งดัดแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคมสำหรับใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิก ภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ บางชนิดจะดัดแปลงส่วนของหัวให้ยื่นยาวออกไปเป็นงวง ที่สามารถผลิต สารที่มีลักษณะเหนียวข้นสำหรับพ่นไปติดตัวศัตรู ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรืออาจทำให้ตายได้

 

          การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวก

                การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวกเริ่มต้นขึ้นเมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงต้น ฤดูฝนภายหลังฝนตกซึ่งจะมีปริมาณความชื้นในอากาศสูง โดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมียจะบินออกจากรังใน ช่วงเวลาพลบค่ำเพื่อมาเล่นไฟจับคู่ผสมพันธุ์กัน จากนั้นจะสลัดปีกทิ้งไปแล้วลงไปสร้างรังในดินในบริเวณที่มี แหล่งอาหารและความชื้นเหมาะสม หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่อาศัยแล้วประมาณ 2-3 วัน จึงเริ่มวางไข่ เป็นฟองเดี่ยว ๆ และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน (larva) และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีก และ เป็นหมัน สารเคมีที่เรียกกันว่า ฟีโรโมน หรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักของราชินีเพื่อให้ตัวอ่อนกินจะเป็น ตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นปลวกวรรณะต่าง ๆ เช่น ปลวกงาน (worker) ปลวกทหาร (soldier) โดย บางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นปลวกที่มีปีกสั้นไม่สมบูรณ์ (nymph) เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็น แมลงเม่าซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญเติบโตไปเป็นปลวก วรรณะสืบพันธุ์รอง (supplementary reproductive) ซึ่งจะทำหน้าที่ผสมพันธุ์ และออกไข่เพิ่มจำนวน ประชากรแทนราชาหรือราชินี ในกรณีที่ราชา (king) หรือราชินี (queen) ของรังถูกทำลายไป

 

แหล่งอาหารของปลวก

                  จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ

                             1. ไม้ (wood)

                             2. ดิน และฮิวมัส (soil and humus)

                             3. ใบไม้ และเศษซากพืชที่ทับถมกันอยู่บนพื้นดิน (leaves and litter)

                             4. ไลเคน และมอส (lichen and moss)

               ปลวกส่วนใหญ่จะกินอาหารประเภทเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีเซลลูโลสเป็น องค์ประกอบ โดยในระบบทางเดินอาหารของปลวกจะมีสัตว์เซลล์เดียว คือ โปรโตซัวในปลวกชั้นต่ำ หรือ จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรียและเชื้อราในปลวกชั้นสูง ซึ่งจะทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์ช่วยในการย่อยอาหารประเภท เซลลูโลส หรือสารประกอบอื่น ๆ ให้กลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปลวก

 

โทษที่เกิดจากปลวก

                         ปลวกเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความเสียหายที่เกิดจากปลวกส่วนใหญ่เกิดจาก การเข้าทำลายพืชเกษตร ไม้ และผลผลิตจากไม้ที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ อาทิเช่น

                                          • กล้าไม้ และไม้ยืนต้น ในป่าธรรมชาติและสวนป่า

                                          • ไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง

                                          • ไม้ใช้ประโยชน์ที่เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน

                                          • วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำมาจากไม้ และพืชเส้นใย

                                             เช่น โต๊ะ ตู้ กระดาษ หนังสือ พรม และเสื้อผ้า เป็นต้น

 

                           อ่าวแล้วประโยชน์ที่ได้รับจากปลวกก็มีนะ

                  ปลวกเป็นแมลงที่มีบทบาทสำคัญมากในระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ คือ

                             1. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เศษไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ และส่วนต่าง ๆ ของพืช ที่หักร่วงหล่นหรือล้มตายทับถมกันอยู่ในป่าแล้วเปลี่ยนให้กลายสภาพเป็นฮิวมัสในดิน เป็นต้นกำเนิดของขบวนการหมุนเวียนของธาตุอาหารจากพืชไปสู่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้พรรณพืชทุกระดับ ในป่าธรรมชาติเจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

                             2. มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ นอกเหนือจากช่วยให้พรรณพืชในป่าเจริญ เติบโตดี ตัวปลวกเองยังเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนของสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด เช่น ไก่ นก กบ คางคก และสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ต่อไปเป็นทอด ๆ

                             3. เป็นแหล่งผลิตโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ ปลวกบางชนิดสามารถสร้างเห็ดโคน ซึ่งเป็น อาหารที่มีรสชาติอร่อยและมีราคาแพง สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ โดยมีเชื้อราที่อยู่ร่วมกันภายใน รังปลวกหลายชนิดช่วยในการผลิต

                              4. จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารปลวกสามารถผลิตเอนไซม์บางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งนำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การเกษตร อุตสาหกรรม หรือใช้ในการแก้ไขและควบคุม มลภาวะสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต เช่น การย่อยสลายสารกำจัดศัตรูพืชที่มีฤทธิ์ตกค้างนาน การกำจัดน้ำเสียจาก โรงงานอุตสาหกรรม หรือการย่อยสลายขยะ เป็นต้น

                  การป้องกันโดยใช้สารเคมี
                                         การใช้สารป้องกันกำจัดปลวก (termiticides) เป็นการกำจัดโดยการฉีดพ่นหรืออัดสารเคมีลงไปในพื้นดินใต้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อ ทำให้ดินมีสภาพเป็นพิษ ปลวกไม่สามารถเจาะทะลุผ่านได้ หรืออาจใช้สารเคมีกำจัดปลวกโรยหรือฉีดพ่นให้โดน ตัวปลวกโดยตรง วิธีการใช้สารเคมีนี้ในปจจุบันพ ั บว่าเป็นวิธีป้องกันกำจัดปลวกที่ได้ผลดีที่สุด สารเคมีกลุ่มต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในประเทศไทย อาทิเช่น
                 • กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) ได้แก่ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) เป็นต้น
                 • กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (synthetic pyrethroids) ได้แก่ ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) อัลฟ่า-ไซเปอร์เมทริน (alpha-cypermethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ไบเฟนทริน (bifenthrin) เฟนวาเลอเรต (fenvalerate) และเดลต้าเมทริน (deltamethrin) เป็นต้น
                  • กลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคลอโรนิโคตินิล (chloronicotinyls) ได้แก่ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) กลุ่มเฟนนีลไพราโซล (phenylpyrazoles) ได้แก่ ฟิโพรนิล (fipronil) และกลุ่มไพรอล (pyrroles) ได้แก่ คลอเฟนนาเพอร์ (chlorfenapyr) เป็นต้น
 
 
การใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้(wood preservatives)
                    จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษต่อปลวก ซึ่งอาจเป็นชนิดละลายในน้ำ ชนิด ละลายในน้ำมัน หรือชนิดพร้อมใช้ ลักษณะการใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้อาจเลือกใช้วิธีการทา จุ่ม แช่ หรืออัด ด้วยความดัน สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
                            สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทน้ำมัน
                   เป็นสารที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบเรียกกันโดยทั่วไปว่า ครีโอโสท เป็นสารเหนียว ข้น สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีกลิ่นฉุน มีคุณสมบัติเป็นทั้งสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อรา สลายตัวยาก ถูก ชะล้างและระเหยได้ยาก นิยมใช้ในการอาบน้ำยาไม้ที่ใช้กลางแจ้ง ภายนอกอาคาร เนื่องจากมีกลิ่นและทำให้ เนื้อไม้เปลี่ยนสีเป็นสีดำไม่สวยงาม ทาสีทับไม่ได้
                            สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทเกลือเคมีละลายในสารทำละลายอินทรีย์
                  เป็นสารประกอบซึ่งเกิดจากการผสมสารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อรา และเติมสาร แทรก (additives) เข้าไป สารที่เคยนิยมใช้กันมากในอดีต คือ เพนตะคลอโรฟีนอล (pentachlorophenol) และลินเดน (lindane) แต่ปัจจุบันสารประกอบทั้งสองชนิดถูกจำกัดการใช้ลงมาก เนื่องจากเป็นสารในกลุ่มที่ เชื่อกันว่าก่อให้เกิดมะเร็งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิด ที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือ ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง
                 สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทนี้มักมีราคาแพง เนื่องจากตัวทำละลายอินทรีย์ มักมีราคาค่อนข้างแพง จึงได้คิดค้นสูตรขึ้นมาใหม่ให้สามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เพื่อให้ได้สารป้องกันรักษา เนื้อไม้ที่มีราคาต้นทุนต่ำกว่า
                             สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทเกลือเคมีละลายในน้ำ
                 สารจำพวกนี้ประกอบด้วยส่วนผสมของเกลือเคมีหลายอย่างผสมกันโดยมีน้ำเป็นตัว ทำละลาย สารประเภทนี้แม้จะละลายในน้ำแต่เมื่ออัดเข้าไปในเซลล์ของไม้แล้วจะเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมี ตัวอื่นซึ่งจะเกาะติดอยู่ภายในไม้ได้ดี ไม่ถูกชะล้างหรือระเหยออกไปจากไม้ง่าย สารที่นิยมใช้กันทั่วไปใน ประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Copper-Chrome-Arsenate (CCA) ซึ่งมีส่วนประกอบของ ทองแดง โครเมี่ยม และสารหนู และ Copper-Chrome-Boron (CCB) ซึ่งมีส่วนประกอบของ ทองแดง โครเมี่ยม และโบรอน ซึ่ง ทองแดงจะออกฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดเชื้อรา สารหนูและโบรอนมีฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดแมลง ส่วนโครเมี่ยมจะช่วยให้สารอื่น คือ ทองแดง สารหนู โบรอน ติดอยู่ในเนื้อไม้ได้นาน เกลือเคมีอีกชนิดหนึ่งที่ เป็นที่นิยมใช้มากในประเทศไทยเช่นกัน คือ สารประกอบของโบรอน เช่น ทิมบอร์ (Timbor) และ บอราแคร์ (Boracare) เป็นต้น
 
 
           จุดสำคัญของโครงสร้างอาคารที่ควรคำนึงถึงในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก
              (1) บริเวณขอบบัวของพื้นอาคาร และพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพาะตามมุมห้องต่าง ๆ
                  บริเวณพื้น ใต้บันได ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายของเปนเวลานาน ๆ
              (2) บริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง และท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักจะก่อผนังปิดหุ้มท่อไว้
              (3) บริเวณรอยแตกของเสาไม้ผนัง หรือพื้นคอนกรีต
              (4) บริเวณคร่าวเพดานและฝาสองชั้น ที่มักจะบุด้วยไม้อัด หรือใช้ไม้เนื้ออ่อน
              (5) พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต
 
 
 

 
 
การควบคุมโดยใช้ระบบเหยื่อปลวก (termite bait system control)
 
                                           การควบคุมโดยใช้ระบบเหยื่อปลวก เป็นการควบคุมที่ทำให้ปลวกที่ได้รับวัตถุอันตรายเกิดการตายต่อเนื่อง ซึ่งเป็นวิธีการรูปแบบ ใหม่ในการป้องกันกำจัดปลวก มีหลักการดังนี้
 
                             • ใช้เหยื่อปลวกที่ออกฤทธิ์ช้า ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ในการขัดขวางกระบวนการเจริญ เติบโตตามธรรมชาติของปลวก ทำให้สามารถลดจำนวนประชากรของปลวกจนถึงระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสีย หาย หรือเกิดการตาย
                             • ใช้เหยื่อปลวกที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ดึงดูดให้ปลวกเข้ามากิน และสามารถคงสภาพอยู่ ภายในตัวปลวกได้ดีในระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะเกิดการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกอื่น ๆ ภายในรังได้
 
                                           เหยื่อปลวกเปนผลิตภัณฑ์ที่มีซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ขัดขวางการเจริญเติบโตของ ปลวก ส่งผลให้เกิดการตายอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง (insect growth regulators; IGRs) เช่น เฮ็กซาฟลูมูรอน (hexaflumuron) ไดฟลูเบนซูรอน (diflubenzuron) บิสตริฟลูรอน (bistrifluron) เป็นต้น ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างผนังลำตัวแมลง (chitin synthesis inhibitors) หรือเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในระบบทางเดินอาหารของปลวกและสามารถถ่ายทอดไปยังปลวกตัวอื่น ๆ ได้ เช่น ไดโซเดียม ออกตะบอเรต เตตระ ไฮเดรต (disodium octaborate tetrahydrate; DOT) ในปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์เหยื่อกำจัดปลวกทั้งชนิดที่ติดตั้งภายในอาคารและชนิดฝังดินบริเวณภายนอกอาคาร ในการนำเหยื่อ กำจัดปลวกนี้ไปใช้จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมความรู้ทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี และมีความชำนาญในการที่จะแก้ไขปัญหาในระหว่างการวางและเปลี่ยนเหยื่อได้ เนื่องจากในประเทศไทยมี การปลูกสร้างอาคารในลักษณะที่สลับซับซ้อน จึงจำเปนต้องดัดแปลงระบบการวางเหยื่อให้เข้ากับ แต่ละสถานการณ์ เพื่อล่อให้ปลวกเข้ากินเหยื่อให้เร็วที่สุด 
                          

 

         

 

         1. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี

         2. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในการสำรวจหรือวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของแหล่งที่เกิดปัญหา และประเมินความเสียหายได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และสามารถนำข้อมูลไปวางแผนและแนวทางในการจัดการ ปลวกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

         3. ต้องเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณที่ดีในการพิจารณาเลือกใช้แนวทางในการจัดการว่าควรจัดการอย่างไร โดยใช้ กรรมวิธีใดบ้าง จุดที่ควรดำเนินการและระยะเวลาการดำเนินการควรเป็นเช่นไรจึงมีความเหมาะสมในแต่ละ สถานการณ์ที่สุด ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงปจจัยอื่น ๆ หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดการ เช่น ทัศนคติ ของบุคคลที่รับบริการ งบประมาณในการดำเนินงาน ประสิทธิผลในการควบคุม รวมถึงความปลอดภัย ระยะ เวลา หรือความยุ่งยากในการดำเนินการ เป็นต้น

         4. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดของขั้นตอนในการปฏิบัติงานของแต่ละกรรมวิธีที่จะนำ มาใช้ในการจัดการเป็นอย่างดี

         5. ต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง ซึ่งจะต้องมีการควบคุม ดูแล และติดตามประเมินผลของการปฏิบัติ งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

         6. ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ และความสามารถเพียงพอ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจ เกิดขึ้นได้จากผลของการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎี

         

 

 

ทีมงานของเรา โปร-ทีม คือผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียด

ในขั้นตอนในการปฏิบัติงานแต่ละกรรมวิธีใช้ในการจัดการเป็นอย่างดี

 

สนใจติดต่อสอบถามด้านข้อมูลบริการโทร 02-101-1450