การจัดการปลวกก่อนและในระหว่างการก่อสร้าง
การวางแนวป้องกันปลวกใต้ดินที่จะขึ้นมาจากพื้นดินเข้าสู่ตัวอาคาร
การวางแนวป้องกันปลวกใต้ดินที่จะขึ้นมาจากพื้นดินเข้าสู่ตัวอาคาร
การวางแนวป้องกันโดยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก (termiticide barrier) มีรูปแบบดังต่อไปนี้
การป้องกันกำจัดปลวกโดยฉีดพ่น
สำหรับอาคารพื้นติดดิน
• ถมดินและปรับระดับพื้นดินใต้อาคารให้ได้ระดับที่ต้องการ เก็บเศษไม้ หรือเศษวัสดุที่จะ เป็นแหล่งอาหารของปลวกออกให้หมด
• ใช้สารป้องกันกำจัดปลวกฉีดพ่น หรือราดลงบนพื้นผิวภายใต้ตัวอาคารให้ทั่ว ในอัตราสาร เคมีผสมตามความเข้มข้นที่กำหนดในปริมาณ 5 ลิตร ต่อทุก ๆ 1 ตารางเมตร สำหรับบริเวณแนวคานคอดิน ให้ ขุดเป็นร่องกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วจึงใช้สาร ป้องกันกำจัดปลวกที่ผสมตามความเข้มข้นที่กำหนดเทราดลงไปตามร่องนั้น ในอัตราสารป้องกันกำจัดปลวกที่ ผสมแล้ว 5 ลิตร ต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร
• ฉีดพ่นหรือราดด้วยสารป้องกันกำจัดปลวกซ้ำอีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่ทำการถมดินหรือ ถมทราย แล้วอัดพื้นให้แน่น ก่อนที่จะเทพื้นคอนกรีต
• บริเวณรอบ ๆ อาคาร ควรฉีดหรือพ่นสารป้องกันกำจัดปลวกให้เป็นแนวป้องกันรอบนอก อาคารอีกครั้ง โดยใช้สารป้องกันกำจัดปลวกที่ผสมแล้วในอัตรา 5 ลิตร ต่อทุกระยะ 1 ตารางเมตร โดยรอบ อาคาร
สำหรับอาคารใต้ถุนสูง
• ให้ขุดดินตรงบริเวณรอบ ๆ โคนเสา ตอม่อ หรือรอบ ๆ ท่อต่าง ๆ ที่ติดต่อระหว่างอาคารกับพื้น ดินทุกแห่งให้เป็นร่องโดยรอบ โดยให้มีขนาดความกว้าง 15 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร เทสารป้องกันกำจัด ปลวกลงไปในร่องในอัตรา 5 ลิตร ต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร หากใต้ถุนบางส่วนมีการเทพื้นคอนกรีต หรือ ก่ออิฐถือปูน เช่น มีครัวที่ติดกับพื้นดิน พื้นซักล้าง และที่ฐานรองรับบันไดบ้าน ควรจะต้องใช้สารป้องกันกำจัด ปลวกเทราดให้ทั่วพื้นผิวดินก่อนที่จะเทคอนกรีต จะสามารถป้องกันปลวกขึ้นอาคารบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี
การติดตั้งระบบท่อปลวกตลอดแนวคาน
ระบบท่อเดินน้ำยาปลวก
• วิธีการเดินท่อแบบลอย หรือ การเดินท่อแบบติดกลางแนวคาน ลอดใต้ท้อคาน ทำการฝังเข้าไปผ่านกลางคาน เป็นวิธีการเดินท่อเคมีป้องกันปลวกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
การเดินท่อแบบลอยและการเดินท่อแบบฝัง ก็ยังมีท่อบางส่วนที่ฝังลงไปใต้ดินด้วยควรเลือกอย่างไร
ท่อที่แนะนำให้ใช้ในระบบท่อที่ทำการวางใต้ดิน คือ ท่อ PE หรือ ท่อ HDPE ซึ่งเป็นท่อที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า ท่อพีวีซี ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานระบบท่อที่วางใต้ดินตามแนวคานมากกว่า ด้วยคุณสมบัติของท่อ PE หรือ ท่อ HDPE ที่มีความยืดหยุ่นกว่าทำให้เวลาอาคารหรือบ้านเกิดปัญหาทรุดตัว จะไม่เกิดปัญหาการแตกร้าวของท่อได้ และที่สำคัญคือท่อ PE หรือ ท่อ HDPE เป็นท่อที่สามารถดัดโค้งได้ ทำให้สามารถลดปัญหาการรั่วซึมจากข้อต่อท่อต่างๆ ที่มีความเสี่ยงในการรั่วซึมสูงหากใช้ท่อปกติ หรือ ท่อ PVC ในการทำงานนั่นเอง
มีท่อ PPR ใช้ในการวางระบบอีก 1 ชนิด
ท่อ PPR คือ Polypropylene Random Copolymer หรือที่เรียกกันว่าท่อ PPR ในตระกูลพีพีนั้น ประกอบขึ้นจาก วัสดุที่มีคุณสมบัติที่เป็นเยี่ยมเหมาะสำหรับระบบประปาทั้งน้ำร้อน น้ำเย็นรวมไปถึงระบบทำความเย็น (Chilled water system) ซึ่งท่อ PPR มีค่า E-modulus ที่ต่ำ และทนทานต่อการยืดหยุ่นสูงภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูงและการใช้งาน ท่อ PPR มีอายุโดยเฉลี่ยนานกว่า 50 ปี นอกจากนั้น ท่อ PPR คือท่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ท่อ PPR คือ ท่อยังมีคุณสมบัติทนต่อสารเคมีเป็นอย่างดี ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายในระบบท่อต่อผู้บริโภคโดยง่าย ทำให้ ท่อ PPR เหมาะอย่างยิ่งในการใช้งานสำหรับเป็นท่อเดินระบบท่อปลวก จึงมั่นใจได้ว่า ท่อ PPR คือ ท่อที่มีคุณภาพสูง
หลักในการวางท่อปลวก
หลักในการวางท่อปลวกนั้น ควรวางท่อไปในทางตรงมากที่สุด เพราะ จะทำให้น้ำยาเคมีเดินทางไปสะดวก และ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ท่อแยกสามทางเพราะอาจจะส่งผลให้เกิดแรงงานตันจากจะทำให้น้ำยาเคมีไหลอ่อนได้ ควรจะพิจารณาให้ขนาดของท่อที่เหมาะสม โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ 18-20 mm เพื่อเป็นการเพิ่มแรงดันน้ำยาเคมีไปยังปลายทางการใช้งานน้ำยาเคมีอย่างทั่วถึง และเป็นละอองฝอย ในการวางระบบท่อน้ำยาเคมี สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ระบบของเราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นโดยการระบุปวาล์วอัดน้ำยาเคมี ตามแบบ วิศวกรรม ให้สอดประสานตามแบบ สถาปัตย์,ภูมิสถาปัตย์ เพื่อสะดวกต่อการอัดน้ำยาเคมี และความสวยงามของอาคารสถานที่
- การเลือกใช้ แบบสปริงเกอร์ อย่างเหมาะสมกับรูปแบบในการติดตั้ง กับจุดปล่อยละอองน้ำยาเคมีนั้นๆ
การติดตั้งระบบสปริงเกอร์ มีองค์ประกอบที่ผู้ใช้ควรคำนึงหลักๆดังนี้
1.คำนวนพื้นที่ ที่จะวางระบบสปริงเกอร์ว่ามีพื้นที่ทั้งหมดกี่ตารางเมตร
2.เลือกหัวสปริงเกอร์ให้เหมาะกับการใช้งาน ของแต่ล่ะพื้นที่นั้นๆ
3.เลือกขนาดท่อ ที่จะส่งน้ำ ในกรณีมีพื้นที่มากควรใช้ท่อที่ทนแรงดันน้ำได้สูงเช่นท่อพีอีเป็นต้น
4.เลือกปั๊มน้ำให้เหมาะสมที่จะใช้ผลักดันปริมาณของน้ำที่ต้องการ
5.มีระบบการคำนวนใช้งานในแต่ล่ะพื้นที่โดยละเอียด
6.การออกแบบระบบน้ำ ท่อเมน ท่อแยก และท่อจ่าย ต้องคำนวนออกแบบมาก่อนลงมือปฏิบัติเสมอ
สปริงเกอร์นั้นมีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน
หัวพ่นหมอก (Mist) ลักษณะของน้ำที่ถูกปล่อยออกมาจากหัวจ่ายน้ำแบบนี้จะมีลักษณะเป็นละอองหมอกเล็กๆ อัตราการจ่ายน้ำน้อย ประมาร 7 ลิตรต่อชั่วโมง แต่ต้องการแรงดันในการใช้งานสูงอย่างน้อย 2-4 บาร์ขึ้นไปเพื่อทำให้น้ำที่ถูกพ่นออกมาเป็นละอองละเอียด ท่อจ่ายน้ำจะเป็นท่อไมโครPEขนาด 4มิลลิมเมตร
หัวแบบมีใบพัดหมุนเหวี่ยงน้ำ ใบพัดจะทำหน้าที่หมุนเหวี่ยงน้ำให้กระจากไปรอบๆ หัวจ่ายน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำเป็นตัวผลักดันให้ใบพัดหมุนจ่ายปริมาณน้ำ 400-800ลิตร/ชั่วโมง รัศมี 1-5 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดรูออกและชนิดของใบพัด ปกติจะติดตั้งพร้อมชุดขาปัก มีท่อไม่โครPEเป็นท่อจ่ายน้ำหรือติดตั้งบนท่อPEขนาด20-25มิลลิเมตร
หัวมินิสปริงเกลอร์ (Mini Sprinklers)
หัวมินิสปริงเกลอร์ (Mini Sprinklers) เป็นรูปแบบสปริงเกลอร์เหมาะสำหรับในการใช้งานเคมีปลวกมากที่สุด เนื่องจากมีการกระจายน้ำให้เลือกหลากหลายครอบคลุมการใช้งาน หัวจ่ายน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ปกติจะจ่ายน้ำปริมาณที่ 20-280ลิตร/ชั่วโมง ใช้งานที่แรงดันประมาณ 1-3บาร์ รัศมีการจ่ายน้ำ 1.5-4เมตร สปริงเกลอร์มีอัตราการจ่ายน้ำที่หลากหลายขนาด การเลือกอัตราจ่ายน้ำน้อยได้ ในขนะที่มีข้อดี ในการใช้ขนาดท่อส่งน้ำเล็กและเครื่องแรงกันต่ำได้ เนื่องจากรูฉีดมีขนาดเล็กเป็นหัวกระจายน้ำที่มีลักษณะของเม็ดน้ำที่ฉีดออกมามีขนาดใหญ่ขึ้น และการจ่ายน้ำจากท่อได้หลากหลายมุมองศา โดยครอบคุมพื้นที่ แนวตามคานได้เป็นอย่างดี เนื้องจากมีขนาดเล็กติดตั้งได้ง่าย ด้วยรัศการจ่ายน้ำ 1.5-4เมตร/360องศา สามารถควบคุมพื้นที่ได้ดีเยี่ยม
การออกแบบระบบท่อและการฉีดน้ำยาเคมี โดยมีหลักการดังต่อไปนี้
การคำนวนการจ่ายน้ำที่สามารถควบคุมพื้นได้อย่างทั่วถึง เช่น การฉีดน้ำยาเคมีโดยการเลือกใช้ "หัวมินิสปริงเกลอร์ (Mini Sprinklers) อันมีรัศมีการจ่ายน้ำ 1.5-4เมตร" การคำนวนจุดฉีดน้ำยาเคมีในระยะรัศมี ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางระยะห่างไม่เกิน 120 cm ระยะห่างจากจุดฉีดหนึ่งไปยังจุดฉีดหนึงที่ความเหมาะสมของระยะทำการคือ 90-120 cm เป็นต้น
ขนาดท่อส่งน้ำยาเคมีที่มีความเหมาะโดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อที่ 18-20 mm และความยาวตลอดช่วงไม่เกิน 30 เมตร และมีจุดฉีดน้ำยาเคมีไม่เกิน 25 จุด โดยระบุต่อปวาล์วจุดอัดน้ำยาเคมี เพื่อการจ่ายน้ำยาเคมีได้ครอบคุมในทุกๆตารางเมตร ตลอดแนวคาน