การกำจัดปลวกโดนระบบเคมีภัณฑ์

 
การป้องกันโดยใช้สารเคมี
 
         การใช้สารป้องกันกำจัดปลวก (termiticides) เป็นการกำจัดโดยการฉีดพ่นหรืออัดสารเคมีลงไปในพื้นดินใต้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อ ทำให้ดินมีสภาพเป็นพิษ ปลวกไม่สามารถเจาะทะลุผ่านได้ หรืออาจใช้สารเคมีกำจัดปลวกโรยหรือฉีดพ่นให้โดน ตัวปลวกโดยตรง วิธีการใช้สารเคมีนี้ในปจจุบันพบว่าเป็นวิธีป้องกันกำจัดปลวกที่ได้ผลดีที่สุด สารเคมีกลุ่มต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในประเทศไทย อาทิเช่น
  • • กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) ได้แก่ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) เป็นต้น
  • • กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (synthetic pyrethroids) ได้แก่ ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) อัลฟ่า-ไซเปอร์เมทริน (alpha-cypermethrin) เพอร์เมทริน (permethrin) ไบเฟนทริน (bifenthrin) เฟนวาเลอเรต (fenvalerate) และเดลต้าเมทริน (deltamethrin) เป็นต้น
  • • กลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคลอโรนิโคตินิล (chloronicotinyls) ได้แก่ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) กลุ่มเฟนนีลไพราโซล (phenylpyrazoles) ได้แก่ ฟิโพรนิล (fipronil) และกลุ่มไพรอล (pyrroles) ได้แก่ คลอเฟนนาเพอร์ (chlorfenapyr) เป็นต้น
 
การเลือกใช้สารกำจัดปลวกชนิดต่าง ๆ มีข้อพิจารณา ดังนี้
  • (1) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารป้องกันกำจัดปลวก ซึ่งได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ และได้ ทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วเท่านั้น
  • (2) เลือกใช้สารป้องกันกำจัดปลวกในอัตราความเข้มข้นที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการ ป้องกันกำจัดว่าต้องการหวังผลในการป้องกันในระยะสั้นหรือระยะยาว เช่น เลือกใช้ในอัตราความเข้มข้นต่ำสุด ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวก เพื่อช่วยลดปัญหาในด้านฤทธิ์ตกค้างและความเป็นพิษที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารเคมีอีกด้วย โดยเฉพาะกรณีที่ใช้ในการกำจัด เฉพาะจุดที่ไม่หวังผลในการป้องกันในระยะยาว
  • (3) เลือกรูปแบบของสูตรผสมให้เหมาะสมกับลักษณะของการนำไปใช้งาน
  • (4) เลือกอุปกรณ์และวิธีการที่เหมาะสมกับชนิดของสารป้องกันกำจัดปลวก เช่น ในการเลือก ใช้สารป้องกันกำจัดปลวกเพื่อการฉีดพ่น หรืออัดลงในดิน ควรเลือกสูตรผสมชนิดเข้มข้นซึ่งต้องผสมน้ำก่อนนำ ไปฉีด โดยใช้เครื่องพ่นแบบสูบโยกสะพายหลังชนิดใช้แรงลมหรือใช้เครื่องพ่นแรงดันสูง สำหรับในโครงสร้างไม้ ที่ถูกทำลายโดยเฉพาะในบริเวณซอกมุม อาจเลือกใช้สูตรผสมที่ใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย โดยใช้อุปกรณ์ เข็มฉีดยา หรือเครื่องพ่นขนาดเล็ก ฉีดพ่นเข้าไปตามร่อง รอยแตกของโครงสร้างอาคารที่ถูกทำลาย ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องเลือกใช้สูตรผสมชนิดผง โดยใช้ลูกยางบีบพ่นผง หรืออาจเลือกใช้ในรูปของแอโรซอล (aerosol) ซึ่งมีหัวฉีดพ่นเข้าไปภายในโครงสร้างที่ถูกทำลาย

 

จุดสำคัญของโครงสร้างอาคารที่ควรคำนึงถึงในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก

  • (1) บริเวณขอบบัวของพื้นอาคาร และพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพาะตามมุมห้องต่าง ๆ บริเวณพื้น ใต้บันได ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายของเปนเวลานาน ๆ
  • (2) บริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง และท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักจะก่อผนังปิดหุ้มท่อไว้
  • (3) บริเวณรอยแตกของเสาไม้ผนัง หรือพื้นคอนกรีต
  • (4) บริเวณคร่าวเพดานและฝาสองชั้น ที่มักจะบุด้วยไม้อัด หรือใช้ไม้เนื้ออ่อน
  • (5) พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต

 

การจัดการปลวก

     จากการที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการ ดำรงชีวิตของปลวกหลายชนิด ประกอบกับค่านิยมของคนไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการปลูกสร้าง อาคารบ้านเรือนให้มีลักษณะที่แตกต่างไปจากอดีต โดยนำรูปแบบการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนของชาว ตะวันตกเข้ามาใช้ ส่วนใหญ่จะออกแบบให้มีลักษณะที่ปิดทึบ มีการระบายอากาศน้อย มีการเลือกใช้วัสดุที่ สามารถเก็บความร้อนได้ดีเพื่อป้องกันอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมต่อการสร้างรังและการ ดำรงชีวิตของปลวกใต้ดิน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาในด้านความเสียหายที่รุนแรงจากการเข้าทำลาย ของปลวกในบ้านเรือน อีกประการหนึ่งลักษณะโครงสร้างอาคารที่ปิดทึบจะทำให้ปลวกสามารถหลบซ่อนตัว ได้ดียากในการควบคุมกำจัด นอกจากนี้ การป้องกันและกำจัดปลวกในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารเคมี ชนิดออกฤทธิ์เร็ว โดยมิได้คำนึงถึงอันตรายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคน สัตว์ และ สิ่งแวดล้อม

     ดังนั้น เพื่อให้การจัดการเกี่ยวกับปลวกทำลายอาคารบ้านเรือนในประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการนอกจากจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา ของปลวกแต่ละชนิดเปนอย่างดีแล้ว ยังจะต้องมีความรู้ความเข้าใจกรรมวิธีในการป ็ องกันกำจัดที่มีอยู่ห ้ ลากหลาย วิธีการ รู้จักผลิตภัณฑ์และสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดปลวก เพื่อที่จะสามารถนำองค์ความรู้ ดังกล่าวมาบูรณาการ เพื่อวางแผนและแนวทางในการจัดการเกี่ยวกับปลวกร่วมกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติการ

การจัดการปลวกให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น ผู้ปฏิบัติการควรต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ

  • 1. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี
  • 2. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในการสำรวจหรือวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของแหล่งที่เกิดปัญหา และประเมินความเสียหายได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และสามารถนำข้อมูลไปวางแผนและแนวทางในการจัดการ ปลวกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
  • 3. เป็นผู้ที่มีวิจารณญาณที่ดีในการพิจารณาเลือกใช้แนวทางในการจัดการว่าควรจัดการอย่างไร โดยใช้ กรรมวิธีใดบ้าง จุดที่ควรดำเนินการและระยะเวลาการดำเนินการควรเป็นเช่นไรจึงมีความเหมาะสมในแต่ละ สถานการณ์ที่สุด ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงปจจัยอื่น ๆ หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดการ เช่น ทัศนคติ ของบุคคลที่รับบริการ งบประมาณในการดำเนินงาน ประสิทธิผลในการควบคุม รวมถึงความปลอดภัย ระยะ เวลา หรือความยุ่งยากในการดำเนินการ เป็นต้น
  • 4. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดของขั้นตอนในการปฏิบัติงานของแต่ละกรรมวิธีที่จะนำ มาใช้ในการจัดการเป็นอย่างดี
  • 5. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง ซึ่งจะต้องมีการควบคุม ดูแล และติดตามประเมินผลของการปฏิบัติ งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
  • 6. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ และความสามารถเพียงพอ ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจ เกิดขึ้นได้จากผลของการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎี
  • 7. เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์และจิตสำนึกที่ดี ทั้งต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม